วิศวกรรมชีวภาพ

หน้าแรก   ภาควิชา/หน่วยงาน   วิศวกรรมชีวภาพ

หลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพเป็นหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาและระดับดุษฎีบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่เน้นการเรียนการสอนและ งานวิจัยที่นำความรู้และความเข้าใจทางวิศวกรรมศาสตร์มาประยุกต์ในการแก้ปัญหาทางชีววิทยาและระบบของสิ่งมีชีวิต อาจารย์และนักวิจัยในหลักสูตรมีความเชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา มาทำงานร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์งานวิจัยที่มีนวัตกรรม งานวิจัยของหลักสูตรฯนั้นมุ่งเป้าทางด้าน Biomaterials and Biomechanics และ Computational Bioengineering ซึ่งภายใต้สองกลุ่มวิจัยทั้งสองนี้ ยังมีงานวิจัยย่อยๆอีกมากมายเช่นงานวิจัยทางด้าน Biomaterials, Biomechanics, Cell and Tissue Engineering, Drug Delivery, Bioimaging, Synthetic Biology และ Diagnostic systemsนอกจากนี้ หลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพ มจธ. ได้จัดทำหลักสูตร Dual Degree กับ China Medical University ประเทศไต้หวัน และ Osaka University ประเทศญี่ปุ่น นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้รับประสบการณ์ทั้งด้านการศึกษาและการวิจัยกับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับนานาชาติ

หลักสูตรที่เปิดสอน

ระดับปริญญาโท

วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวภาพ

วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวภาพ

ระดับปริญญาเอก

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวภาพ

โอกาสของผู้สำเร็จการศึกษา

อาจารย์และนักศึกษาในหลักสูตรมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติและ เข้าร่วมการ ประชุมนานาชาติอย่างต่อเนื่อง มีผลงานที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมระดับชาติมากมาย เช่น รางวัลเหรียญทอง เงิน และ ทองแดงจาก INTRAG, รางวัลชนะเลิศโครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี, รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง จากการประกวด i-MedBot และจากการที่หลักสูตรมีพันธมิตรทางด้านวิจัยที่หลากหลาย เช่น เครือข่ายชีวการแพทย์แห่งประเทศไทย, โรงพยาบาลศิริราช, โรงพยาบาลรามาธิบดี, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, คณะทันตแพทย์มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลเลิดสิน ซึ่งความร่วมมือนี้ก่อให้เกิดงานวิจัยเพื่อพัฒนาไปสู่นวัตกรรมทางการแพทย์ หลักสูตรยังมีความร่วมมือกับต่างประเทศ ซึ่งความร่วมมือมีทั้งในรูปแบบของงานวิจัยร่วม และการแลกเปลี่ยนนักศึกษาทั้งระยะยาวและระยะสั้น ทำให้นักศึกษาสามารถทำงานในอุสาหกรรมการแพทย์ได้อย่างมืออาชีพ เช่น งานด้านอุปกรณ์เครื่องมือการตรวจวัด วัสดุทางการแพทย์ งานทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อม เป็นนักวิจัยในศูนย์วิจัยของรัฐ และของเอกชน หรือทำงานอยู่ในระบบการศึกษาด้านการแพทย์

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

เว็บไซต์หลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพ

ดูเพิ่มเติม

Follow Us

ติดตามเราได้ที่